เทคนิควางแผนสร้างคอนเทนต์คุณภาพสำหรับ SEO ด้วย Micro Intents
รู้จัก Micro Intents เครื่องมือช่วยในการสร้างคอนเทนต์คุณภาพ ภายใต้เงื่อนไขของ Google SERPs และยังคงช่วยให้การสร้างเนื้อหามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นเส้นทางที่ช่วยให้คุณไปถึงจุดเป้าหมายได้รวดเร็ว และยาวนานอีกด้วยงับ
Micro Intents คืออะไร
Micro Intents จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ว่า Content หรือเนื้อหาที่สร้างนั้นอยู่ในประเภทใด เพื่อกำหนดเป้าหมายการกระทำให้เกิดความเข้าใจทั้งคนอ่านและ Google Algorithm อย่างที่เราเข้าใจกันดี แล้วก็ย้ำมาเสมอเลยว่า การสร้างเนื้อหา บทความ Content ต่างๆ มันควรจะเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพในหลายองค์ประกอบรวมกัน จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างมากเลยทีเดียว
ซึ่งเทคนิคที่เหล่า SEO Expert หลายสำนักฯ ต่างย้ำเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าอยากติดอันดับ 1 หรือติดหน้าแรก SEO Google แล้วละก็ ต้องสร้างเนื้อหาที่สอดรับกับความเข้าใจของ Google ซึ่งมันก็ไม่ผิด แต่ใช่ว่าจะถูกต้องไปเสียทั้งหมด
อ้างอิงหลักการ E-A-T เพื่อสร้างคุณภาพเนื้อหา
แน่นอนว่า หลักการ E-A-T ที่เป็นเกณฑ์ปฏิบัติให้ Google เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้นก็ยังต้องสอดคล้องไปกับ SERPs เพื่อให้ Google เข้าใจมากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้ผู้อ่านมีประสบการณ์ร่วมไปได้ เพื่อให้เนื้อหาบรรลุจุดประสงค์ นี่เป็นสิ่งที่ย้ำกันมาตลอด แต่อย่างไรก็ดี มีหลายคนที่อาจหลงลืมกันไปบ้าง ครั้งนี้เราก็มาย้ำกันอีกทีเพื่อให้การสร้างเนื้อหาสำหรับ SEO นั้น มีประสิทธิภาพ และถูกพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
ใครที่ติดอันดับอยู่ในหน้าแรกอยู่แล้ว ก็สามารถเข้าไปปรับปรุง เพื่อรักษาอันดับต่อไป หรือใครที่ยังไม่ติดอันดับที่น่าพอใจสักที ก็สามารถปรับปรุงเพื่อขยับอันดับได้ รวมทั้ง สำหรับสายทำ SEO ในผู้ประกอบการที่ต้องการผลกำไร จากการขาย การใช้บริการ หรือ e-Commerce ก็สามารถใช้เทคนิคนี้ในการหาลูกค้าได้อีกนั่นเอง
การสร้างคอนเทนต์ภายใต้เงื่อนไข E-A-T
โดยหลักการนี้ถูกกำหนดมาให้การสร้างเนื้อหาเป็นไปตามขั้นตอนเพื่อให้ Google เข้าใจและแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามันดีต่อทุกเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตามหลักกการนี้อย่างมาก สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก ผมเขียนสรุปไว้แบบคร่าวๆ ในบทความนี้ หากอยากอ่านแบบละเอียด และทำความรู้จักมากกว่านี้ อ่านบทความ E-A-T คืออะไร ทำให้ SEO คุณดีขึ้นได้อย่างไร
E : Expertise
การสร้างเนื้อหา (Content) แต่ละชิ้นนั้น ควรเป็นการสร้างมาโดยมีการอ้างอิงข้อมูล เนื้อหา หรือประสบการณ์แท้จริง เสมือนกับคุณเป็นผู้ชำนาญการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความรู้ความสามารถด้านนั้นจริงๆ อย่างเช่น
หากคุณจะสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับการทำอาหารไทย แน่นอนว่า คุณต้องรู้เทคนิค มีเคล็ดลับและสามารถแชร์ประสบการณ์เหล่านั้นให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ได้จริง มีความอร่อย แล้ว Google จะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่ามันอร่อยจริง ทำได้จริง แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ Google มี AI ในการประมวลผลข้อมูลใน Keyword ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในสารบบแล้วนำมาประกอบกันได้อย่างรวดเร็ว ว่าสิ่งเหล่านั้นมันควรจะเป็นและทรงคุณค่าหรือไม่นั่นเอง
A : Authoritativeness
ชัดเจน ถ่องแท้ ไม่ซ้ำซ้อน ไม่เวิ่นเว้อ เอาให้เนื้อหา ตรงประเด็น ตรงหลักการ ไม่ต้องชักแม่น้ำทั้ง 5 มาแล้วค่อยเข้าสู่เนื้อหา ที่อาจมีแก่นอยู่เพียงสั้นๆ แบบนั้นอาจทำให้ Google สับสนว่า เนื้อหาของคุณกำลังสื่อถึงอะไรกันแน่ ความกำกวมหรือมีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง (โดยอ้อมค้อม) มากเกินไป แบบนี้ก็ส่งผลลบมากกว่าผลดี ดังนั้นในการสร้างเนื้อหาเขียนบทความ อย่าพยามยัดเยียดข้อมูลให้มากเกินไปเพื่อหวังให้เนื้อหามีความยาวที่มากพอ การทำ Long Form Content จึงควรกลั่นกรองเนื้อหาให้ตรงประเด็นมากๆ
T : Trustworthiness
ความน่าเชื่อถือ สามารถถูกสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวคุณเอง แม้คุณจะไม่มีดีกรีตรงสายนั้นก็ตาม ความเชื่อมั่นเหล่านั้นคุณเองก็ทำให้เนื้อหา ข้อมูลต่างๆ มีความน่าเชื่อถือได้ด้วย
- การที่สามารถติดต่อได้
- การมีตัวตน บนโลกออนไลน์ หน้าร้าน
- เป็นเนื้อหาสร้างสรรค์ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
- ฯลฯ
นี่คือ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในหลัก E-A-T ที่ Google ได้ขีดเส้นทางให้ Creator นักเขียน SEO ได้ทำตาม เหมือนว่าจะง่าย แต่ในความเป็นจริงก็มีความก่ำกึ่งระหว่างยากและง่ายอยู่พอสมควร แต่แน่นอนว่า ในผู้ที่มีประสบการณ์หรือเก่งในด้านงานเขียน หรือนักเขียนมืออาชีพ ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากครับ
Google เข้าใจเนื้อหาด้วย SERPs
SERPs ( Search Engine Result Pages) การแสดงผลในหน้าการค้นหาของ Google มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่
- Organic SERP Listing การแสดงผลตามธรรมชาติ
- Paid SERP Listing การแสดงผลด้วยการโฆษณา
ซึ่งใน SERPs นั้นก็มีองค์ประกอบ ดังนี้
- keyword คำค้นหา
- URL หรือลิงก์ slug
- Title หัวข้อเรื่อง
- Snippet ข้อมูลที่หยิบมาแสดงผล
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นลงมือสร้างเนื้อหา SEO และนี่คือความสำคัญอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้เลยจริงๆ ซึ่งเดิมทีเรามักจะคุ้นเคยการให้ความสำคัญเนื้อหา ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกสร้างมาเพื่อสนับสนุนการค้นหาแบบเดิมนั้น โดยมากจะถูกกำหนดด้วย Keyword และแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจนเพียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้รูปแบบเนื้อหาด้วยการ
- Informational – ให้ข้อมูล
- Transactional – มีช่องทางการชำระเงิน
- Commercial – ช่องทางการติดต่อซื้อขาย
- Navigational – การเชื่อมโยงเนื้อหาสู่หน้าอื่นๆ ที่กำหนดไว้ให้ User ได้คลิกหรือเดินตาม
- Brand – ความเป็นมา ตัวตนของธุรกิจ แนะนำตัว เทคนิค ฯลฯ เกี่ยวกับเรื่องราวของธุรกิจ
และเมื่อคุณได้จัดองค์ประกอบเหล่านี้อย่างดีแล้วตอนนี้ก็ถึงเวลาอัพเดต หรือพัฒนาการสร้างเนื้อหาสำหรับ SEO ให้มีคุณภาพและตอบโจทย์เป้าหมายด้วยเทคนิค “ความบังเอิญที่ได้มาอย่างตั้งใจ”
การจัดหมวดหมู่ที่อธิบายสั้นๆ ไป นั่นก็คือ วิถีปฏิบัติที่ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนไปแม้แต่น้อย เพียงแต่เทคนิค “ความบังเอิญที่ได้มาอย่างตั้งใจ” หรือ “Micro Intent” นั้น เรากำลังจะการมุ่งเป้าและทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มลูกเล่น เทคนิควิธีต่างๆ จากช่องทางการชำระเงิน และเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อขายเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า หรือเกิด Action ในการชำระเงินจับจ่าย รวมทั้งการนำไปสู่เป้าประสงค์ในการสร้าง Content ให้บรรลุเป้าหมายที่คุณตั้งใจไว้
ปกติแล้ว Google จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่มีสิ่งเหล่านี้
- Do = Transactional
- Know = Informational
- Go = Navigational
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ได้เวลาที่เราจะดีไซน์เส้นทาง (Journey) การเลือกประโยคการค้นหา ข้อสงสัย หรือการคาดการณ์ว่า เมื่อกลุ่มเป้าหมายของเราต้องการอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรา พวกเขา “มัก” จะใช้คำ ประโยค อะไรบ้าง?
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อคุณวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ได้เหมาะเจาะ มันจะช่วยทำให้คุณสร้าง “ความบังเอิญที่ได้มาอย่างตั้งใจ” ให้พวกเขาเห็นบทความ เห็นเว็บไซต์ เห็นธุรกิจ ฯลฯ ได้อย่างที่คุณต้องการ
องค์ประกอบของ Micro Intents
1. Information
Entertainment – แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากเห็นเรื่องราวชวนหัวเราะ ไม่ว่าจะเป็นการดูเพื่อผ่อนคลาย เปิดรับความสนุกสนาน ความบันเทิง แล้วก็จะมีการแชร์เนื้อหาเหล่านี้ ที่พวกเขาชื่นชอบไปยังเพื่อนๆ ในแพลตฟอร์มต่างๆ และเข้าถึงง่าย
Definition – การค้นหาคำตอบในข้อสงสัยต่างๆ ดังนั้นคุณก็ควรคาดการณ์ให้ได้ว่า พวกเขาจะค้นหาอย่างไร เพื่อให้คำตอบในเนื้อหาที่คุณสร้างนั้น ได้ถูกแสดงผลออกมา และแน่นอนว่าเมื่อคำตอบมันใช่และมีคุณภาพมากพอ โอกาสที่จะถูกแสดงผลในตำแหน่ง Featured Snippets หรือ Zero Position ก็เป็นไปได้เช่นกัน
Expansional – เนื้อหาที่สร้างได้ถูกขยายคำตอบในข้อสงสัยอย่างมีหลักการ มีคุณภาพ ตอบทุกข้อสงสัยได้อย่างแม่นยำ ในความสงสัยต่างๆ ที่เราเชื่อว่า เมื่อคุณสงสัยและต้องการคำตอบ ผู้ค้นหาจะยังคงสงสัยต่อไปเรื่อยๆ และแน่นอนว่าเมื่อคุณสามารถสร้างเนื้อหาที่ตอบคำถามข้อสงสัยนี้ได้อย่างดีพอ มันก็ทำให้คุณมีชัยชนะในการทำ SEO ได้แน่นอน
Enablement – เนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เขาได้คำตอบ ได้ข้อมูล ได้รับรู้ในสิ่งที่ช่วยเติมเต็มไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำ เทคนิควิธี เคล็ดลับต่างๆ หรืออะไรมากมายที่ช่วยให้พวกเขาลงมือทำมันได้ด้วยตัวเอง เนื้อหารูปแบบนี้ก็เป็นอีกแบบที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน
Aggregation / Overview – สนับสนุนการค้นหาข้อสังสัยหรือคำตอบนั้นๆ อย่างสร้างเนื้อหาที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ ให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหานั้นๆ อย่างชัดเจน
2. Navigational
Support – คำถามที่พบบ่อย (FAQ. Schema) ก็เป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า เข้าถึงธุรกิจของคุณได้มากยิ่งขึ้น และมันช่วยให้พวกเขาเจอเนื้อหาของคุณโดยไม่ตั้งใจซะอีกด้วย
Location – ถ้าคุณมีหน้าร้าน หรือที่อยู่ในการจัดตั้งบริกษัท หรือใดๆ ก็ระบุมันลงไปซะให้ชัดเจน ทำได้ง่ายๆ บน Google My Business หรือแอปพลิเคชันต่างๆ บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็ได้
Website – หากคุณไม่มีหน้าร้าน ไม่มีที่อยู่ การที่คุณมีเว็บไซต์เป็นหน้าร้าน มีความจำเป็นอย่างมากในการทำการตลาดปัจจุบัน รวมทั้งแน่นอนว่า คุณกำลังสร้างเนื้อหาเพื่อ SEO ก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีเว็บไซต์ หรือ Landing Page
3. Transactional & Commercial
Comparison / Orientation – อย่ารอช้าที่จะสร้างเนื้อหาในการเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ผู้ใช้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในปัญหาหรือสิ่งที่พวกเขากำลังมองหานั่นเอง
Category / Selection – การจัดหมวดหมู่ กลุ่มประเภทอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้ใช้ได้มองเห็นส่วนที่อำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหา สนองความต้องการ (Need) มันดีมากๆ เมื่อคุณมีหลากหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และนอกจากนี้ การที่คุณเชื่อมโยงเนื้อหาและแบ่งปัญหาออกเป็นกลุ่มก็ทำให้กระจายกลุ่มเป้าหมายและได้ลูกค้าหลากหลายกลุ่มที่มีความต้องการเดียวกันก็ได้เช่นกัน
Service / Product – รายละเอียดการให้บริการ ข้อมูลการจัดส่ง ราคา ช่องทางการชำระเงิน ฯลฯ ข้อมูลต่างๆ ที่พร้อมนำเสนอให้พวกเขาซื้อและตัดสินใจจ่ายเงินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Brand – เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจของคุณด้วยการเติมเรื่องราว ความเป็นมา ที่มา หรือ Storytelling เพื่อนำไปสู่ Storyselling กระตุ้นความต้องการอย่างตอบโจทย์ ด้วยความหนักแน่น ตอบย้ำความมั่นใจให้พวกเขาได้มากยิ่งขึ้น
ในการสร้างเนื้อหาอย่างมีคุณภาพนอกจากหลักในการทำให้ Google และผู้อ่านเข้าใจและมีความสนใจแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การเปลี่ยนกลุ่มผู้อ่าน ผู้พบเห็นเหล่านั้นให้มาเป็น “ลูกค้า” ด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดมาผสมผสาน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้เป็นการนำไปสู่การเปลี่ยน ผู้ติดตาม > ผู้พบเห็น > ผู้ชื่นชอบธรรมดา > เป็นลูกค้าที่ชื่นชอบธุรกิจของคุณได้ยาวนาน
Customer Journey สร้างประสบการณ์ให้ผู้พบเห็นทั่วไปกลายเป็นลูกค้าด้วย “กลยุทธ์ความบังเอิญอย่างตั้งใจ”
1. Pre-Awareness
เจอแบบแกล้งๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับการฟีดบน social media อย่าง Facebook, TikTok, Reels, Instagram หรืออะไรก็ตามบนแพลตฟอร์มที่คุณได้ทำการสมัครบัญชีเอาไว้ ทุกสิ่งล้วนมีความตั้งใจให้เกิดขึ้น แต่จะสร้างเนื้อหาอย่างไรให้เหมือนว่าคุณไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ก็ควรจะเป็นเนื้อหาที่เป็นการแนะนำ การบอกต่อโดยผู้ใช้ ผู้มีประสบการณ์ร่วม ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความบันเทิงในรูปแบบ
- meme คำคมต่างๆ
- viral videos วิดีโอไวรัล
- quiz เกมสนุกสนาน
- comic การ์ตูนทันกระแส
- Social media story
- เกมจิตวิทยา
- ฯลฯ
เพื่อให้เนื้อหา แบรนด์หรือธุรกิจของคุณได้ผ่านหูผ่านตา เห็นแว๊บๆ และเริ่มมีการแชร์ บอกต่อกันมากขึ้น โดยตอนนี้แหล่ะที่คุณจำเป็นต้องใส่ไอเดียให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ tie-in สินค้า/บริการ เพื่อให้พวกเขาคุ้นตาและนำไปสู่ ขั้นตอนต่อไป
2. Awareness
ตอนนี้แหล่ะ ได้เวลาที่คุณต้องทำการบ้านหนักไม่แพ้กัน แต่ทั้งนี้ คุณต้องเริ่มทำการบ้านหนักตั้งแต่การวางแผนการสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ แล้วล่ะ ว่าจะสร้างมันอย่างไร ไอเดียแบบไหน เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อขั้นตอนแรกก็ต้องมี action ขั้นถัดไป ซึ่งพวกเขาคุ้นเคยและเริ่มรู้จักคุณพอสมควรแล้ว ก็ควรต้องมีเนื้อหาเพื่อให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น พูดถึงและมีการแชร์ การบอกต่อมากยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาในส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่เราได้อธิบายไปข้างต้นนั้นแล้ว ในกลุ่มของ Informational คราวนี้ถึงคราวที่คุณจะวางแผนแล้วลงมือสร้างมันขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกันได้แล้ว
3. Consideration
ต่อไปเป็นการกระตุ้นให้เขาเริ่มตัดสินใจด้วยการโน้มน้าวไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลของธุรกิจคุณรวมทั้ง storytelling ของแบรนด์คุณและอื่นๆ เพื่อให้พวกเขามั่นใจมากยิ่งขึ้นและมองหา เกิดการค้นหาและอยากทำความรู้จักกับแบรนด์คุณมากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในขั้นต่อไป
รูปแบบการสร้างเนื้อหาในขั้นตอนของ Awareness และ Consideration นั้นอาจเป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบของ
- podcasts
- บทสัมภาษณ์ / รีวิว
- คำแนะนำการใช้
- webinars
- workshops
- How to
- การเปรียบเทียบ
- ฯลฯ
4. Preference
ตอนนี้อยู่ในระหว่างกึ่งกลางที่พวกเขากำลังอยากทำความคุ้นเคยหรือหาข้อมูลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่คุณต้องวางแผนการสร้างเนื้อหาให้พวกเขาเกิดความพึงพอใจและเห็นความจำเป็นในการแก้ปัญหา ด้วยธุรกิจของคุณด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้มากยิ่งขึ้น สร้างสัมพันธ์อันดีอย่างตอบโจทย์ตามกลยุทธ์ที่คุณได้วางแผนเอาไว้ ที่สำคัญในการสร้างเนื้อหาแต่ละขั้นตอนควรต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อตอกย้ำความรู้และความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้นในทุกๆ การสื่อสาร
5. Purchase
นี่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้คุณเปลี่ยนผู้พบเห็นทั่วไปให้กลายมาเป็นลูกค้า ด้วยการนำเสนอช่องทางการซื้อสินค้า การติดต่อ และอื่นๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามที่ธุรกิจของคุณกำหนดไว้
รูปแบบในการสร้างเนื้อหาของขั้นตอน Preference และ Purchase อยู่ในรูปแบบเนื้อหาที่แสดงข้อมูลให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น
- กรณีศึกษา ( case studies )
- คู่มือ
- รายละเอียดสินค้า
- การรับรอง รางวัลต่างๆ
- ความรู้สึกจากผู้ใช้งานจริง
- คำถามที่พบบ่อย
- เงื่อนไขการสั่งซื้อ/การจัดส่ง/การรับประกัน ฯลฯ
- ช่องทางการสั่งซื้อ/ช่องทางการชำระเงิน
- ฯลฯ
6. After-Sale
เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจมาเป็นลูกค้าของคุณแล้วนั้น คุณก็จำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้เขายึดมั่นและคิดถึงคุณอยู่เสมอ นั่นก็คือการสานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความห่วงใยเล็กน้อย โปรโมชั่นพิเศษ Greeting ในโอกาสพิเศษ หรือแม้แต่การสอบถามความคิดเห็นหลังจากการใช้งาน ซึ่งนั่นจะช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นคุณได้มากอีกด้วย
7. Loyalty
ความยึดมั่น ภักดีในแบรนด์ของคุณ มันหมายความว่า เขาจะปักใจ รักคุณได้อย่างไรเป็นการสร้างเนื้อหา สานความสัมพันธ์ให้แน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการพูดถึงบางอย่างที่ธุรกิจของคุณตอบโจทย์สิ่งเหล่านั้นอยู่ เขาจะนึกถึงคุณขึ้นมาได้ทันที พร้อมทั้งแนะนำบอกต่อให้แก่เพื่อน คนรู้จัก ฯลฯ
ซึ่งรูปแบบในการสร้างเนื้อหาของขั้นตอน After-Sale และ Loyalty สามารถสื่อสารให้พวกเขาได้เห็นในหลายรูป ดังนี้
- การยืนยันการสั่งซื้อ
- สถานะการจัดส่ง
- ข้อมูลในการแพคสินค้า
- วิธีการใช้งาน/วิธีการติดตั้ง
- สำรวจความคิดเห็น
- ฯลฯ
การวางแผนเนื้อหาอย่างมีคุณภาพเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่เรียกได้ว่า พื้นฐานการตลาดนั้น มีความสำคัญอย่างมาก การทำ SEO ไม่ใช่การสร้างเนื้อหา เขียนบทความ การทำเว็บไซต์ เพียงอย่างเดียว แต่มันคือส่วนหนึ่งของการตลาดที่ช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมาย เกิดรายได้ หรือสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจของคุณได้ นั่นเอง
[helpful]
บทสรุป : เทคนิคในการทำ “ความบังเอิญอย่างตั้งใจ” นั้น เป็นการตั้งใจสร้างเนื้อหาเพื่อการทำ SEO ให้ติดอันดับอย่างมีแบบแผนโดยการใช้กลยุทธ์การตลาดเข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้เกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น การวางแผนเนื้อหาด้วยการคาดการณ์การค้นหาต่างๆ ทั้งจงใจและที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นอย่างมากที่คุณจำเป็นต้องใช้ความพยายาม ไม่เพียงแค่การเฟ้นหา Keyword หรือการเขียนในรูปแบบ E-A-T หรือการวิเคราะห์ SERPs เพียงอย่างเดียว
พี่หมีฮาร์ดเซลล์
แต่เป็นการใส่ใจทั้งความรู้สึก สร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในทุกการสื่อสารอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อคุณได้พัฒนา สร้างเนื้อหาให้ได้ในรูปแบบต่างๆ ที่เราแนะนำไปนั้น ย่อมทำให้เนื้อหาของคุณมีคุณภาพและยังสร้างมูลค่าได้อีกด้วย
ที่มา : kopp-online
เจ้าของแฟนเพจพี่หมีฮาร์ดเซลล์ | ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์เอเจนซี่เล็กๆ | SEO Specialist | ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ | รักการถ่ายภาพ