วิธีทำ SEO youtube 2022 สร้างช่องยูทูปให้ติดหน้าแรกโดดเด่นเหนือคู่แข่ง
เชื่อว่าหลายคนทำช่องมานานแล้วแต่ยังสงสัยว่าทำไมช่องตัวเองยังไม่ติดหน้าแรก หรือเป็นคลิปแนะนำเสียที บทความนี้จะแนะนำวิธีทำ SEO Youtube ที่ทดสอบแล้วว่าตอบโจทย์การสร้างช่องยูทูป (บทความอัพเดทประจำปี 2022)
อันที่จริงผมเขียนเรื่อง วิธีทำคลิป Youtube ให้ติด SEO เพื่อนๆ ลองไปอ่านก่อนนะครับเป็นเรื่องการตั้งค่าช่อง เซ็ทค่าพื้นฐานให้ระบบของยูทูปรู้จักช่องของเราดีขึ้น หาง่ายขึ้น แต่บทความนี้เป็นเรื่องของสายเทคนิคนะครับ เพื่อนๆ ที่เป็นมือใหม่ยังไม่มีพื้นฐานแนะนำให้ไปอ่านอันแรกก่อนนะครับ ถ้ารักจะทำช่องทำอย่างไรให้ยูทูปชอบและกูเกิ้ลรัก
ทบทวนอีกที youtube seo คืออะไร
youtube seo คือการปรับแต่งข้อมูลและค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการแสดงผล (performance) ข้อมูลเมต้า (metadata) คำอธิบายต่างๆ (description) มันก็คือพื้นฐานการค้นหาของระบบ search engine นั่นแหละ ผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การค้นหาบนเว็บไซต์ youtube.com (ภายใน) และการค้นหาบน google.com (ภายนอก)
การตั้งค่าพื้นฐาน youtube seo ให้ระบบเข้าใจ
- ความยาวของวีดีโอ (video length) ที่ควรยาวตั้งแต่ 1-20 นาที (ยาวต่ำกว่า 60 วินาที bot กูเกิ้ลจะเข้าใจว่าเป็นวีดีโอสแปมหรือไฟล์ขยะ)
- ชื่อไฟล์ของวีดีโอ (meta tags) ชื่อไฟล์ที่ต้องทำให้ระบบเข้าใจง่าย
- คำอธิบาย (description) การอธิบายขยายความให้ youtube เข้าใจว่าคลิปเราทำเรื่องอะไร
- ภาพแสดงของหน้าปก (thumbnail) ภาพของปกคลิปวีดีโอที่ต้องน่าสนใจ ชัดเจน
- ข้อมูลของช่อง (profile) – การตั้งค่าข้อมูลของช่อง youtube เรา
- การติดตามช่อง (subscribe) – ติดตามช่องที่คล้ายกับช่องเรา
- การแชร์ (share link) การแชร์ เผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ
- การสร้าง backlink ไปยังชุมชนออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ
- การใส่แท็ก (tags) ใส่เข้าไปในระบบด้วยคำที่เป็นกระแส เข้าใจง่าย กำลังฮิตอยู่
- การสร้าง playlist ให้ยูทูปรู้จักหมวดหมู่ของวีดีโอเราและเนื้อหาใกล้เคียง
- ตัวเลื่อนเวลาสำหรับดูวีดีโอ (timestamps) ซึ่งอันนี้คือสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาครับ เพื่อให้ผู้ใช้งาน เลือกดูวีดีโอของเราตามช่วงเวลาและหัวข้อที่ต้องการได้ในกรณีที่คลิปวีดีโอของเรายาวมากๆ (ที่มา google.com)
เทคนิคสร้าง keyword ให้ช่องติดอันดับค้นหา
- สร้างเนื้อหา (content) ที่เป็นกระแสด้วยการวิเคราะห์จาก google trend หรือ youtube search แล้วตั้งชื่อหรือกำหนดให้เนื้อหานั้นมี keyword เพื่อให้แสดงเนื้อหาที่คล้ายกัน
- keyword ที่ดีที่สุด google หรือ youtube จะแสดงโดยระบบ autocomplete ให้เราเห็นโดยอัตโนมัติอยู่แล้วว่าอะไรที่มีการค้นหามากที่สุด หรือเพื่อความโปรฯ ยิ่งขึ้นอาจเช็คคำนิยมได้ด้วย keywordtool.io หรือ kparser.com, keywordkeg.com ก็ได้
- ห้ามลืม! ติด tags สำหรับเรื่องราวเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอของคุณ เพื่อให้แสดงใน youtube ของคนอื่นเช่นกัน ถ้าไม่รู้จะติด tags อะไร ก็สามารถค้นหาเป็น keyword tags หรือ rapid tags ได้ และอย่าลืมกำหนดชื่อ url หรือชื่อเรื่องของคุณใน rapid tags ด้วยนะเพื่อให้ serach engine รู้ว่าช่องของคุณและวิดีโอคุณคือเรื่องอะไร
สร้างเนื้อหาให้โดดเด่นด้วย SEO Tool
อย่าลืมกำหนด ตั้งค่าและตรวจสอบเนื้อหาวิดีโอของ เดี๋ยวนี้ก็มีตัวช่วยมากมายให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องมือเป็นตัวช่วยได้ดังนี้
1. youtube analytics
youtube analytics ช่วยกำหนดทิศทาง ดูรายงานผล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เรานำมาปรับปรุงเนื้อหาในครั้งต่อๆ ไปและแสดงผลว่าเนื้อหาวิดีโอชิ้นไหนของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีใครดูมากที่สุดโดยแสดงผลแบบรายวัน ทำให้คุณวางแผนสำหรับวิดีโอต่อๆ ไปง่ายขึ้น
ซึ่งตอนนี้ยูทูปเองก็ได้เพิ่มเมตตริกใหม่คือการสำรวจเมตริกได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกหลังจากปล่อยคลิป ยิ่งทำให้เราปรับ keyword, tags, description ที่อาจจะยังดูไม่เข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อมูลของฟังก์ชันเมตริก 24 ชั่วโมงแรก
- รวบรวมข้อมูลหลังจาก 24 ชั่วโมงแรกของวีดีโอที่ถูกปล่อยบน youtube ที่เราเผยแพร่
- ข้อมูลย้อนหลังของวีดีโอในปี 2019 วีดีโอที่เผยแพร่ก่อนปี 2019 จะไม่มีข้อมูล 24 ชั่วโมงแรกของคลิป
- การสตรีมมิ่งหรือไลฟ์สดจะไม่มีเมตริกตัวนี้ให้เข้าดู
2. tube buddy
tube buddy กำหนดประสิทธิภาพของวิดีโอ ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหน้าตาของ youtube การฝังโค้ด สร้างรูปแบบของการ์ดแสดงเนื้อหาให้สวยงาม
กำหนดค่าการตอบโต้พูดคุย ตั้งค่าคอมเมนต์ ปิดกั้นความเห็นเชิงลบ สร้างรายละเอียดอัตโนมัติให้ใกล้เคียงกับเนื้อหา ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาคิดมากมาย สร้างรูปปกวิดีโอและอื่นๆ อีกเพียบ
3. vidIQ
vidIQ vision for youtube ช่วยให้เราวิเคราะห์ช่องและเนื้อหาของเราในแบบที่ง่ายมาก แสดงผลต่างๆ ให้อ่านได้ง่ายและชัดเจนแบบไม่ซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวิดีโอ จำนนคนดู ยอดคนดู คนที่แชร์ไปโซเชียลมีเดีย tags ต่างๆ
แน่นอนว่ามันจะช่วยให้เรานำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงสำหรับวิดีโอใหม่ให้ตรงใจ โดนใจคนดูได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ
4. tubics (แนะนำ)
อันนี้ผมลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว (ใช้ฟรี 14 วัน) เพื่อกำหนด ตั้งค่าวิดีโอของคุณให้กลุ่มเป้าหมายเห็นได้มากที่สุด หลายคนอาจคิดว่าการตั้งค่าเองใน youtube เป็นเรื่องที่ง่าย
แต่เราจะคิดอะไรไม่ออกเลยถ้าเป็นมือใหม่ เครื่องมือนี้จะทำให้เราเห็นภาพและเข้าใจวิธีการทำงานของ youtube ได้มากขึ้นและจะช่วยให้วิดีโอของเราเข้าถึงกลุ่มคนได้กว้างมากยิ่งขึ้นด้วยนะ
5. ใช้เครื่องมือส่องคู่แข่ง Noxinfluencer
พี่หมีทดลองใช้ NoxInfluencer ที่ถูกอัพเดตมาเป็นเวอร์ชั่นภาษาไทยแล้ว ทำให้กำหนดตั้งค่าและส่องดูคู่แข่งได้ว่าเนื้อหาที่กำลังได้รับความนิยมขณะนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร (หลังปรับหัวข้อยอดวิวกับซับขึ้นนะครับ) ทั้งๆ ที่ไม่ได้ลงวีดีโอเพิ่มมา 3-4 เดือน
นอกจากนี้ยังช่วยให้ตั้งชื่อหัวข้อ กำหนด tags ต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วยการให้คะแนน โดย AI ซึ่งถ้ายิ่งคะแนนสูงก็แสดงว่าสิ่งที่คุณทำอยู่นั้นมีโอกาสติดเทรนด์หรือมีคนเห็นมากขึ้นก็มีให้ทดลองใช้
ส่วนใครที่จริงจังเทิร์นโปรแล้วละ อยากใช้มากกว่านี้จะใช้แบบเสียเงินรายเดือน รายปีก็ได้ สามารถใช้งานฟังก์ชั่นอื่นได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้การส่อง keyword ยอดนิยมก็ยังถูกจำกัดแสดงผลไม่กี่ประเทศ ข้อดีอีกอย่างของเครื่องมือนี้คือ เราสามารถรู้อันดับ top 100 ในหมวดต่างๆ ของในแต่ละประเทศไทยได้นะ
เพิ่มเติมจะมีตัว Socialinsider การใช้งานคล้ายกัน และเช่นเดียวกันสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 14 วัน หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากจะจ่าย! เพื่อปรับปรุงช่องของให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่
เคล็ดลับ! การเพิ่ม Timestamps ให้กับวีดีโอเป็นตัวช่วยให้คลิปเรามีโอกาสติดอันดับ 1 ในผลการค้นหาของ google และ youtube ได้นะครับ
นอกจากฟังก์ชั่นเสริมที่ช่วยให้กำหนดจุดมุ่งหมาย ทิศทางของเนื้อหา วิดีโอของให้คนดูเห็นมากยิ่งขึ้นแล้ว อย่าลืมว่าการที่ต้องหมั่นปรับแต่งช่องและส่องดูตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาทางแก้ไขให้มีประสิทธิภาพสูงก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน
เทคนิคชวนคนมาแชร์ ให้คนช่วยแชร์
การชักชวนหรือแชร์ link ในโซเชียลมีเดียต่างๆ ร่วมด้วยก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ serch engine รู้จักเรามากยิ่งขึ้นด้วย อย่าลืมว่า..นอกจากจะทำช่องให้คนดูรักแล้วก็ต้องทำให้ google ชื่นชอบด้วยเช่นกัน โดยมีเทคนิคง่ายๆ มาแชร์กันด้วยจ๊ะ
- คุณภาพของวิดีโอ ความคมชัด ความละเอียดรวมถึงขนาดของวิดีโอที่เหมาะสม ขนาดวีดีโอแนวตั้งที่เหมาะสมคือ 1080×1920 pixel ส่วนวีดีโอแนวนอน 1920×1080 pixel หรือจะเป็น 4k ก็ยิ่งดี (แทรก link ตอนที่แล้วด้วยนะ)
- คุณภาพของเนื้อหา ทั้งเนื้อเรื่องที่สร้างขึ้นมาเป็นของตัวเอง ด้วยตัวเองไม่ได้ไปเอาไฟล์ ไปดูดงานของคนอื่นมาตัด (original content) คือสร้างด้วยตัวเองนั่นแหล่ะ รวมถึงเนื้อหาที่ google ชอบเหลือเกินจำพวก how to, review สอนเทคนิค สอนภาษา วิดีโอที่ดูแล้วสนุกตรงกลุ่มเป้าหมาย
- โปรโมทด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ในโซเชียลมีเดียต่างๆ การคอมเมนต์ เพิ่ม link หรือสร้าง blog ของคุณเองก็เป็นการเสริมแรงอีกทาง
- ที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่องก็เป็นการ กำหนดตั้งค่าต่างๆ ที่บอกไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ชื่อเรื่อง tags คำอธิบาย ชื่อภาพ ก็ควรสร้างให้ถูกใจ google ตัวอย่างเช่น
- ใช้ tags ให้ตรงกับการค้นหาของกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหา การติด tags ยังช่วยให้ google รู้จักและเข้าใจว่าวิดีโอของคุณนั้นเป็นเรื่องอะไร ซึ่งจะช่วยให้เขาแสดงผลในเนื้อหาใกล้เคียง (related content)
- ชื่อของวิดีโอควรมีความยาว 5 คำขึ้นไป
- คำอธิบายวิดีโอควรมี keywords ประมาณ 25 ตัวอักษรขึ้นไป ให้เป็นคำซ้ำของ keywords ประมาณ 2-4 ครั้งและในขณะที่คำอธิบายควรมีความยาว 250 ตัวอักษรขึ้นไป
- ใส่ timestamps ลงไปด้วย ซึ่งยูทูปเขาได้ทำฟังก์ชันนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ เลือกดูเนื้อหาเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการ คล้ายๆ กับมีสารบัญบนคลิปวีดีโอ เวลาจะเรียบเรียงเล่าเรื่องก็ง่าย คนดูก็หาเนื้อหาง่าย
[helpful]
สรุป: การเป็น youtuber มืออาชีพนั้นไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ยาก แม้หลักการง่ายๆ นี้ จะมีวิธีทำที่เหมือนกันหมดใครก็ทำได้ แต่อย่าลืมนะว่าเราจำเป็นต้องสละเวลา ใส่ใจรายละเอียดและหมั่นฝึกฝนวิธีการทำเอาใจผู้ใช้งานหรือคน และ google ไปพร้อมๆ กัน
เจ้าของแฟนเพจพี่หมีฮาร์ดเซลล์ | ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์เอเจนซี่เล็กๆ | SEO Specialist | ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ | รักการถ่ายภาพ